วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มหันตภัยจาก ICT

หลาย ๆ คนเมื่อเห็นชื่อบทความแล้วคงจะพูดว่า อะไรกันนักกันหนา คนที่เขียนบทความนี้ ประสาท
กลับหรือเปล่ากล้าใช้คำว่า มหันตภัย เชียวหรือ มันไม่หนักเกินไปหรือ เพราะโดยทั่วไปแล้วมีแต่คนยกย่อง
ชมเชย มองเห็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลของ ICT แต่นี่กลับมีแนวความคิดสวนทางกันกับคนทั่วไป
หรือทั่วโลกก็ว่าได้ ครับผมไม่เถียงว่า ICT มีประโยชน์มากมายมหาศาลจริง ซึ่งทุกคนที่คลุกคลีกับ ICT รู้ดี
และก็รู้ดีอีกว่ามันก็มีโทษมหาศาลเช่นกัน จะมีคนไทยกี่เปอร์เซ็นต์ครับที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับความรู้
ทางด้าน ICT เข้าใจในระบบ ICT และสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้เทคโน โนโลยีเหล่านี้ได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับในปัจจุบัน ขนาดประเทศที่เขาเจริญแล้วมี
การศึกษาเจริญกว่าประเทศเราเขาก็ยังประสบปัญหาต่าง ๆ นานา อยู่เป็นประจำ แม้แต่บางคนยังไม่ทราบ
ความหมายของ ICT ด้วยซ้ำไป เพราะคนไทยมีนิสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศละก็ จะไม่ใส่ใจศึกษาเลย (ยกเว้นนักการศึกษา) และที่ร้ายไปกว่านั้นอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ผลิตจากต่างประเทศทั้งนั้น
ภาษา คำศัพท์เทคนิคก็เป็นภาษาต่างประเทศด้วย นี่ละครับคือสาเหตุหรือจุดด้อยที่ทำให้คนไทย ใช้เทคโนโล
ยีไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ บางคนก็มีความรู้แบบ งู ๆ ปลา ๆ ไม่ได้เข้าใจอย่างแท้จริง เรามาดูว่า ICT ย่อมาจากอะไร? มีความหมายว่าอย่างไร?
I ย่อมาจากคำว่า Information แปลว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล การประมวลผล เป็นการบวก ลบ คูณ หาร การจัดกลุ่ม การจัดจำพวก ฯลฯ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการแปลความหมายทำความเข้าใจได้ง่าย ทำให้มีความเข้าใจตรงกัน
C ย่อมาจากคำว่า Communication แปลว่า การสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันระบบสื่อสารการโทรคมนาคม ได้เชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ในโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดสังคมยุคไร้พรมแดน มนุษย์ซึ่งอยู่คน
ละซีกโลกสามารถติดต่อถึงกันโดยใช้เทคโนโลยีหลายรูปแบบเช่น อินเทอร์เน็ตก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่
สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เกือบทุกรูปแบบ
T ย่อมาจากคำว่า Technology แปลว่า การประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประ
โยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคโลกไร้พรมแดน แบบนี้ เราคงปฏิเสธความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีต่างที่ผลุดขึ้นมาเหมือนอย่างดอกเห็ดไม่ได้ เนื่องจากมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว จากความสำคัญและประโยชน์อันมากมายมหาศาลที่มากับ ICT นี้เอง มันได้แฝง
มหันตภัยอันมากมายมหาศาลมาให้ผู้ที่ใช้ ICT อย่างมากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน กับผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กหรือเยาวชนไทยที่ไม่ได้รับการแนะนำในการใช้ ICT ที่ถูกต้องจากพ่อ-แม่ ครูอาจารย์
หนักไปกว่านั้นผู้ใหญ่บางคนได้แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กหรือเยาวชน โดยใช้ ICTหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการหากินอย่างไร้คุณธรรมและเมตตาธรรม
ต่อไปเรามาดูกันว่ามหันตภัยที่มากับ ICT มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างส่งผลกระทบหรือทำให้เกิดผลเสีย
หายต่อบุคคลหรือสังคม ประเทศ หรือแม้แต่โลกเราทุกวันนี้อย่างไร
ภัยที่มากับอินเทอร์เน็ต หรือภัยไซเบอร์ขณะที่ชุมชนใหม่บนโลกไซเบอร์กำลังก่อเกิดขึ้น การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่า สะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการในทุกด้าน โลกที่เปิดกว้างนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ให้กับผู้คนในหลากหลายรูปแบบ แต่ขณะเดียว กันสังคมไซเบอร์ก็นำพาปัญหามาให้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะ เยาวชน ที่อาจเผลอไผลใช้เทคโนโลยีโดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ จนเกิดเป็นภัยร้ายลุกลามได้ หากเอ่ยถึงภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามีหลากหลายรูปแบบให้ต้องระแวดระวัง เพราะโลกไซเบอร์มีครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกมุมโลก ภัยที่แฝงอยู่จึงมาได้หลายทาง หากแบ่ง แยก แล้ว อาจได้ประมาณ 3 กลุ่ม คือ
ภัยจากคนแปลกหน้า หรือ บุคคลเสมือน บางทีเด็กหญิงที่เราเจอในแช็ตรูม ที่จริงอาจเป็นชายวัยกลางคนที่เข้ามาพูดคุย สร้างภาพเพื่อหลอกให้เราตายใจ หวังล่อลวงนัดพบ และเมื่อออกไปเจอเขาก็อาจถูกล่วงเกินหรือทำร้าย มิจจาชีพกลุ่มหนึ่งทำเว็บไซต์ปลอมหลอกให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ เลขรหัสบัตรเครดิต แล้วนำไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา
ภัยจากเนื้อหาต้องห้าม อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวมเนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ความคิดเห็นนานาจากผู้คนทั่วโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีทั้งข้อมูลที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์และข้อมูลที่ เป็นอันตราย เช่น มีการเผยแพร่ สิ่งพิมพ์รูปภาพ หรือโฆษณาวัตถุลามก อนาจาร ผิดกฎหมาย หมิ่นประมาท ยุยงก่อให้เกิดความแตก แยกในสังคม เนื้อหารุนแรงเกลียดชัง บ่อนทำลาย ผิดศีลธรรม เนื้อหาทางเพศโจ่งแจ้ง บางส่วนเป็นเพียงความ คิดเห็นส่วนตัวที่เอนเอียง บางส่วนไม่ใช่ความจริงผู้อ่านจึงต้องรู้เท่าทันสิ่งที่อ่านเจอบนอิน เทอร์เน็ต
ภัยจากการใช้งานไม่เหมาะสมอื่น ๆ ไวรัสคอมพิวเตอร์แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านเครือขายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้ที่ขาด ความรู้และความระมัดระวัง กระจายตัวอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายได้คราวละมาก ๆ นอนกจากนี้ ยังมีผู้ไม่ประสงค์ดีทำการบุกรุกเครือข่ายเพื่อขโมยข้อมูล แก้ไขข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทำการโจมตีให้ระบบล่ม ภัยจากโลกไซเบอร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งได้แก่ การที่เด็กและเยาวชนใช้เวลามากเกิน ไป บนโลกออนไลน์ ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ละเลยต่อการเรียนหรือกิจกรรมกลางแจ้งในโลกปกติ ทำให้เสียสุขภาพและขาดทักษะการเรียนรู้ทางสังคม
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีอัตราค่าบริการค่อนข้างสูง
ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลคุณภาพต่ำวงจรสื่อสารความเร็วสูง ยังไม่แพร่หลาย
ความปลอดภัยในการส่งข่าวสารข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีน้อย ซึ่งจะเห็นได้จากกระทรวงทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ประกาศห้าม ข้าราชการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนส่งข่าวสารข้อมูลโดยกำหนดระยะเวลาให้งดใช้ ดังนี้ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปให้งดใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ส่วนข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาให้เลิกใช้ภายในระยะเวลา 1 ปี(ประกาศ สำนักงานปลัดกระทรวง)
โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆอินเทอร์เน็ต เป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก, มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร, ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่, ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้ คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
พิชชิ่ง(Pifishing) คือการเลียนแบบทำเหมือนต้นฉบับทุกประการ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ส่วนใหญ่อาชญากรจะใช้ในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน อย่างเช่น การฝากเงิน การถอน หรือการโอนเงิน ด้วยการตั้งเว็บไซต์ขึ้นมาเหมือนกับธนาคารทุกประการและหลังจากนั้นจะมีการ หลอกผู้ที่เข้าไปใช้บริการเพื่อเอารหัสบัญชีแล้วนำไปทำธุรกรรมอย่างอื่น ภัยจากเว็บแคม ถือได้ว่าเป็นภัยที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่น เพราะมิจฉาชีพจะติดกล้องไว้ที่ตัวคอมพิวเทอร์เพื่อดูพฤติกรรมของอีกฝ่าย หนึ่ง และเว็บแคมทุกวันนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นลามกอนาจารหรือเรียกกัน แบบง่าย ๆก็คือการขายบริการทางเพศทางเว็บนั่นเอง ทีนี้ลองมานึกภาพดูซิว่าถ้าเป็นลูกหลานของท่านกลังมีพฤติกรรมแบบนี้และไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตนเอง ได้ผลที่จะตามมาก็คือ เสียเงินค่าบริการ ขาดความสนใจในการเรียน เสียสุขภาพเพราะนอนดึก ร้ายไปกว่านั้นส่งผลถึงสุขภาพจิตซึ่งไม่แน่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการข่มขีนกระทำชำเราตามที่เป็นข่าวอยู่เนือง ๆ
ภัยจากบัตรเครดิต ซึ่งเป็นภัยของพวกนักช๊อปหรือผู้ที่ไม่ต้องการพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมากก็ จะใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้าต่างๆ แต่ใครจะรู้ว่าถึงเวลาชำระค่าบัตรกลับมีตัวเลขที่ต้องชำระเพิ่ม ขึ้นอย่างมากโขทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งวิธีการที่พวกมิจฉาชีพมักจะหาประโยชน์จากบัตรเครดิตคือ ทุกครั้งที่มีการรูดบัตรตัวเครื่องก็จะทำการอ่านบัตรและเชื่อมต่อไปยัง ธนาคารเจ้าของบัตร แต่ระหว่างที่มีกาติดต่อกัน ระหว่างเครื่องรูดบัตรกับธนาคาร พวกมิจฉาชีพก็ได้นำเครื่องเล่น MP3 ไปไว้เพื่อดักฟังข้อมูล
ภัยที่มากับเกมคอมพิวเตอร์ ฟังดูเผินๆแล้วไม่น่าจะมีพิษสงอะไรมากนัก เพราะเป็นเกมเล่นเฉย ๆ
แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าเกมคอมพิวเตอร์ได้ส่งผลเสียต่อผู้คน ที่ขาดสติสัมปชัญญะจนเสียผู้เสียคนมามากต่อมากแล้ว เกมก็เหมือนกับของหลาย ๆ อย่างในโลกนี้มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ถ้ารู้จักใช้หรือใช้
อย่างพอเหมาะพอดีก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าไม่รู้จักใช้หรือใช้มากเกินไปก็จะก่อให้เกิดโทษ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประโยชน์ของเกมให้ท่านผู้อ่านไปสืบค้นหรือคิดเอาเอง แต่จะขอสรุปถึงข้อเสียหรือภัยที่มากับเกมคอมพิวเตอร์ที่ผู้เขียนได้ศึกษา หรือได้จากประสบการณ์หรือพบเห็นมาดังนี้คือ
1.เสียสุขภาพกาย ถ้าใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคCVS(Computer Vision Syndrome)
คือมีอาการปวดกระดูกข้อมือ ปวดกล้ามเนื้อที่คอ หลัง ไหล่ ปวดตา แสบตา ตามัว หรือมีอาการปวดหัว
ร่วมอยู่ด้วย บางคนเล่นจนลืมหิว ลืมง่วง ไม่กินไม่นอนร่างกายก็แย่ หรือทานอาหารหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่
ได้ออกกำลังกาย โรคอ้วนก็จะถามหาได้เช่นกัน
2.เสียการเรียนหรือการงาน เกมจะดึงดูดความสนใจจากเด็ก ทำให้เด็กไม่ใส่ใจในการเรียนเท่าที่ควรยิ่งเด็กแบ่งสรรเวลาไม่เป็นก็ยิ่งมีผลต่อการเรียนมากขึ้น เกมจะดึงดูดเวลาทำการบ้าน ความรับผิดชอบงานบ้านของเด็กไปจนหมด บางคนถึงกับหนีโรงเรียนเพื่อไปเล่นเกม ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มมากขึ้น บางคนถึงกับขโมยเงินผู้ปกครองเพื่อนำไปเสียค่าเกมหนักไปกว่านั้นบางคนขาด เรียน หนีเรียนไปเล่นเกมจนไม่มีสิทธิ์สอบ ต้องออกจากโรงเรียนโดยปริยายก็มีมากมาย
3.ขาดสังคมกับคนจริง ๆ หรือขาดสัมพันธภาพแบบเผชิญหน้าพบปะพูดคุยโดยตรงซึ่งจะมีผลต่อการคบหาสมาคม และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เด็กพวกนี้ตามที่ผู้เขียนได้ประสบพบมา ใบหน้าจะบึ้งตึงเงียบ
ขรึม ตอบคำถามแบบสั้น ๆ ถามคำตอบคำ ไม่ชอบพูดคุยกับเพื่อน ไม่ร่าเริงแจ่มใส มักจะปลีกตัวอยู่คนเดียว
เงียบ ๆ ไม่ชอบพูดรงเรียน ชอบโกหก เหม่อลอย
4.บางเกมมีผลต่ออารมณ์ เช่นเหนี่ยวนำให้เกิดอารมณ์รุนแรง และพฤติกรรมก้าวร้าว ทำให้ชินกับการแก้ปัญหาด้วยกำลังแทนการใช้สติปัญญา ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีผู้กล่าวว่าภาพยนตร์แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวให้เด็กเห็น แต่เกมคอมพิวเตอร์สอนให้เด็กลงมือกระทำและรู้สึกตื่นเต้นกับการระทำนั้น
หรือการที่เด็กยิงปืนเพื่อสังหารคู่ต่อสู้ในเกมเปรียบเสมือนกับการยิงหรือสังหารคู่ต่อสู้โดยไม่ต้องคิดไตร่
ตรอง ถ้าหากท่านเป็นผู้ปกครองลองสังเกตดูลูกของท่านกำลังเล่นเกมต่อสู้หรือเกมที่มีการฆ่ากัน ให้ท่านสัง
เกตดูอากับกิริยาของเด็กจะเห็นมีความเครียดอยู่มาก ขณะเดียวกันท่านลองไปทักหรือใช้หรือบอกให้หยุด
เด็กจะแสดงอาการไม่พอใจ หรืออาการก้าวร้าวออกมาให้เห็นทันที ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าเกมบางเกมมีผลต่อ
อารมณ์และจิตใจของเด็กมาก
5.สร้างปัญหาต่อครอบครัว พ่อแม่ที่หวังให้เกมเป็นเครื่องมือเพื่อดึงดูดลูกให้อยู่กับบ้านไม่ไห้ไป
ไหน หรือปล่อยให้ลูกอยู่กับเกมตามลำพัง โดยนอนใจว่าลูกจะคลายเหงา และมีกิจกรรมยามว่าง หรือรู้สึก
ว่าไม่มีภาระต้องคอยห่วงคอยกังวลว่าลูกจะไปทำอะไรที่ไหน ท่านคิดผิดอย่างใหญ่หลวงเพราะผลที่จะเกมตามมา คือเกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะเกิดปัญหาสลดในในสังคมไทยมามากต่อมากแล้ว เช่น
ลูกติดเกมไม่ยอมกลับบ้าน ปัญหาระหว่างแม่กับลูกวัยรุ่นที่ติดเกมพอแม่เตือนลูกก็ไม่ยอมพูดด้วย ลงท้าย
แม่เลยกระโดดตึกฆ่าตัวตายเป็นต้น ถ้าหากท่านสังเกตให้ดีจะเห็นว่า เด็กได้เล่น หรือวิ่งเล่น กับเพื่อน ๆ ได้เข้าสังคมกับเพื่อน เขาจะมีความสุข สนุกสนานมาก แสดงว่าเขาไม่มีความเครียดหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น
วิธีการคลายเครียดที่ดีที่สุดสำหรับเด็กนอกจากนั้นเขายังได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวเขาด้วย ดังนั้น
ถ้าเด็กเล่นแต่เกมก็จะเพาะนิสัยรักการอ่านได้ยาก การพัฒนาด้านสติปัญญาจึงถือว่าเป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก
สำหรับเด็กที่ติดการเล่นวิดีโอเกม
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสังคมปัจจุบันนี้มีภัยต่างๆที่แฝงตัวอยู่ทุกส่วนของ สังคมไม่ว่าจะเป็นภัยการถูกแอบถ่ายรูป หรือภัยจากการลักลอบโอนเงินจากธนาคาร เป็นต้น และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในโลก “ไซเบอร์” อย่างอินเทอร์เน็ต ที่เข้ามาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนอยากที่จะหาทางแก้ไขได้ และที่สำคัญภัยในโลกไซเบอร์นั้นมีความน่ากลัวมากกว่าโจรผู้ร้ายหรืออาชญากร อีกเป็นเท่าตัว เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ไม่เว้นแม้แต่ในห้องนอนของเราเอง ภัยในโลก ไซเบอร์ ทุกวันนี้ได้ผุดขึ้นมาคุกคาม ประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะกับเยาวชนที่มักจะเป็นเป้าหมายของการถูกทำร้ายในโลกไซเบอร์ เพราะเยาวชนทุกวันนี้มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเทอร์เพียง ลำพัง โดยปราศจากการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครองดังที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน

“ ไอซีทีไม่ได้ดีเสมอไปอย่างที่คิด
หากใช้ผิดจุดประสงค์จำนงหมาย
ก่อให้เกิดภัยมหันต์อันมากมาย
หากผู้ใช้ไร้ความคิดผิดศีลธรรม ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น