วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Windows : แชร์อินเตอร์เน็ตด้วย ad hoc ใน Windows 7

วิธีการที่ขอแนะนำในวันนี้ก็คือ การเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer หรือที่เรียกว่า Ad Hoc ครับ โดยจะใช้เครื่องที่สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้นั้นเป็นจุดกระจายสัญญาณ แล้วให้ 3 เครื่องที่เหลือเชื่อมต่อกับเครื่องแรกนี้โดยผ่านทางสัญญาณ Wireless นั่นเอง ซึ่ง Ad Hoc หรือการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer นั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยให้การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบไร้สายของคุณ สามารถทำได้ง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน Windows 7 นั้น มี Wizard หรือตัวช่วยในการเชื่อมต่อ ซึ่งเพียงทำตามขั้นตอน คุณก็สามารถแชร์อินเตอร์เน็ตไร้สายให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ เสมือนเครื่องคุณเป็นจุดกระจายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม ลองทำตามขั้นตอนนี้ได้เลยครับ
ก่อนอื่น เปิดหน้าต่าง Network and Sharing Center โดยเข้าไปที่ Control PanelNetwork and InternetNetwork and Sharing Center

1.คลิกที่ Set up a new connection or network


2.เลือก Set up a wireless ad hoc…

3.คลิก Next


4.จะเข้าสู่หน้าต่าง Set up a wireless ad hoc network ให้คลิก Next ไปได้เลย


5.ตั้งชื่อของ Network ที่จะสร้าง

6.เลือกรูปแบบของระบบรักษาความปลอดภัย ในที่นี้เลือกเป็น WPA2-Personal แต่หากไม่ต้องการให้มี password (เครื่องใครก็เชื่อมต่อได้) ก็เลือกเป็น No authentication (Open)

7.กำหนด Security key หรือรหัสผ่านในการเชื่อมต่อ

8.จากนั้นคลิก Next



9.ระบบจะทำการเชื่อมต่อ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะแจ้งว่า
The [ชื่อเครือข่ายที่ตั้ง] network is ready to use
ให้คลิก Turn on Internet connection sharing เพื่อทำการแชร์อินเตอร์เน็ต เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ



หากขึ้นหน้าต่างดังรูปแสดงว่าการเชื่อมต่อและแชร์อินเตอร์เน็ตสำเร็จครับ


หากคลิกดูที่รายชื่อ network ด้านล่าง ดังรูป ก็จะเห็นชื่อของ network ที่เราสร้างรวมอยู่ด้วย ซึ่งเครื่องอื่นๆ สามารถทำการเชื่อมต่อผ่าน network นี้ได้ เสมือนเป็น access point ตัวหนึ่งครับ


note
เครื่องที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณนั้น จะใช้ wireless ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไปพร้อมกับกระจายสัญญาณแบบ ad hoc ไม่ได้ หากมีอุปกรณ์ wireless แค่ตัวเดียว ต้องต่ออินเตอร์เน็ตด้วยเส้นทางอื่น เช่น อาจเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางสาย lan หรือ Bluetooth แล้วกระจายสัญญาณผ่านทาง wireless เป็นต้น













“ สังคมออนไลน์ ” จากเวทีความเห็นสู่ประเด็นการเมือง

เมื่อ พื้นที่อิสระในการสื่อสาร กลายเป็นเวทีวิพากษ์ทางการเมือง ส่งผลให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วและล่อแหลม ปราศจากการควบคุม หลายฝ่ายประกาศรวมพลัง เรียกร้องให้ผู้ใช้กลั่นกรองจากจิตสำนึก

จากพื้นที่ในการพูดคุยหรือติดต่อสื่อสาร วันนี้ “โซเชียลเน็ตเวิร์ก” ถูกขยับฐานะจากสังคมออนไลน์สู่เวทีแสดงความเห็นทางการเมือง ส่งผลให้หลากกลุ่มหลายเครือข่ายถือกำเนิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ภายใต้อิสระทางการแสดงพลังความคิด จนไม่อาจรู้ได้ว่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น แท้จริงแล้วมีเป้าหมายเพื่อแสดงอุดมการณ์ทางการเมือง หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ หรือเป็นเพียงการลอกเลียนพฤติกรรมแบบที่เรียกว่า อุปทานหมู่

พิธีกรชื่อดัง แสดงทัศนคติว่า กระแสทางการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้งในปัจจุบัน คล้ายกับประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลหรือความบันเทิง โดยถือเป็นเน็ตเวิร์กรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยจุดประสงค์เพื่อการติดต่อสื่อสาร ส่วนสาเหตุที่มีประเด็นทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง อาจมีสาเหตุจากการมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตนเอง รวมถึงการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างมากในสังคม

เชื่อว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อหวังผลบางประการ อาจเพื่อปลุกปั่นกระแสสร้างความรุนแรง ผ่านความสนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้การแสดงความคิดเห็นจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคม แต่การตอบโต้เชิงลบก็ทำให้เกิดปัญหา รวมถึงความอิสระในการแสดงความคิด ก็กลายเป็นสิ่งเร้ากระต้นให้เกิดความรุนแรง” พิธีกรชื่อดัง กล่าว

นายวุฒิธร หรือ วู้ดดี้ เปิดเผยอีกว่า โดยส่วนตัวรู้สึกไม่สบายใจและยอมรับว่าค่อนข้างอึดอัด จากพฤติกรรมของคนบางกลุ่มที่จับจ้องการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของบุคคล ต่างๆ เพื่อนำความเห็นเหล่านั้นไปใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้ศิลปินหรือนักแสดงต้องระมัดระวังอย่างมากในการแสดงความเห็นผ่านโซเชีย ลเน็ตเวิร์ก เพื่อป้องกันการนำความเห็นของตนไปใช้เป็นกระบอกเสียงแก่คนบางกลุ่ม


“ในฐานะสื่อ เรารู้ว่าต้องวางตัวเป็นกลาง แต่ภาวะปัจจุบันบีบคั้นให้คนหมดสิทธิ์ออกเสียง ในวันที่คนจำนวนมากลุกขึ้นมาสาดโคลนใส่กัน แต่ในฐานะสื่อ กลับพูดหรือแสดงออกไม่ได้ จึงต้องย้อนมองว่าเสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งยังทำให้พบว่าวัฒนธรรมไทยคือวัฒนธรรมหมู่อยู่กันเป็นพวก ไม่นับถือความเป็นตัวตน ทุกวันนี้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่ายไม่มีตัวตนที่แท้จริง โดยเฉพาะโลกออนไลน์ที่เปรียบเสมือนการกระจายข่าวแบบปากต่อปากเท่านั้น”
พิธีกรคนดัง ยังฝากคำแนะนำถึงผู้ใช้สังคมออนไลน์ด้วยว่า ในฐานะเจ้าของหน้าเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือเว็บไซต์อื่นๆ ควรกลั่นกรองสิ่งที่พูดหรือคิดในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อส่วนรวมหรือส่งผลให้สังคมเสื่อมลง ตนไม่ได้ห้าม แต่อยากให้กลั่นกรองความจริง ก่อนตกเป็นเครื่องมือของคนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ด้าน นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร ผู้ ประสานงานเครือข่ายคนรุ่นใหม่ไม่ทิ้งประเทศไทย แสดงความเห็นว่า โซเชียลเน็ตเวิร์กถือเป็นช่องทางที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกทางความเห็น การแสดงออกทางการเมืองผ่านสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน เป็นพัฒนาการทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากการเขียนบทความและม็อบมือถือของนักศึกษาในอดีต จนกระทั่งยุคอินเทอร์เน็ตที่สามารถรวมตัวกันได้ง่าย เช่นเดียวกับการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ภายในเครือข่ายคนรุ่นใหม่ไม่ทิ้งประเทศ ไทย ที่รวมกลุ่มต่างๆ และปฏิสัมพันธ์กันผ่านสังคมออนไลน์ รวมถึงช่องทางสื่อสารต่างๆ และอีเมล์ konroonmai@gmail.com

"เชื่อว่ากระแสที่เกิดขึ้น เป็นการแสดงออกทางการเมืองอย่างแท้จริงตรงไปตรงมา เมื่อมาพบผู้ที่คิดเห็นในแนวทางเดียวกันจึงทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น นอกจากนี้ ความคิดที่แตกต่างทางการเมืองจากสังคมรอบตัวก็เป็นปัจจัยที่กดดันให้คนรุ่น ใหม่จำนวนไม่น้อยเลือกแสดงอุดมการณ์ผ่านสื่อออนไลน์ เนื่องจากการแสดงจุดยืนของตนเองกลายเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะยุคที่เด็กถูกเลี้ยงเหมือนไข่ในหิน ต้องมีวิถีชีวิตตามกรอบที่พ่อแม่กำหนดและปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก”

ผู้ประสานงานเครือข่ายคนรุ่นใหม่ไม่ทิ้งประเทศไทย ยังคาดการณ์ถึงความนิยมที่วัยรุ่นมีต่อประเด็นทางการเมืองว่า ขณะนี้ คนรุ่นใหม่ถูกตัดออกจากประเด็นทางการเมือง ไม่มีบทบาทเป็นตัวละครทางการเมืองค่อนข้างนาน รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทของสื่อจากสื่อสาธารณะเป็นสื่อส่วนตัว ทำให้โซเชียลเน็ตเวิร์กกลายเป็นพื้นที่อิสระทางการแสดงความคิด เช่นเดียวกับตนเองที่นิยมแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองผ่าน พื้นที่ส่วนตัวอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ส่วนหนึ่งอาจมีปัจจัยจากความสนใจทางการเมืองหรือติดตามสถานการณ์ในปัจจุบัน

“เชื่อว่าบนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์มีคนรุ่นใหม่ร่วมแสดงความเห็นทางการเมือง มาก 60-70% ทั้งเป้นการแสดงอุดมการณ์หรือเป็นผลกระทบจากความเดือดร้อนที่ได้รับในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกัน กลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็เกิดคำถามกับตัวเองว่า ถึงเวลาที่เราควรมีส่วนร่วมต่อประเทศชาติแล้วหรือยัง แต่ปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้กลุ่มคนจำนวนมากร่วมกันแสดงอุดมการณ์อย่างแพร่ หลาย อาจมาจากการล่วงเกินสถาบันพระมหากษัติย์และสถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ใช้สังคมออนไลน์ในการแสดงความเห็น ตนอยากฝากให้ทำความเข้าใจว่าเว็บไซต์ต่างๆ เป็นเพียงช่องทางในการแสดงความเห็นอย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและความระมัดระวัง ไม่ควรสร้างความเกลียดชังแก่ผู้อื่น ควรทำและแสดงออกจากอุดมการณ์อย่างแท้จริง” นายแสงธรรม กล่าว
ส่วน พ.ญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต เปิดเผยความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าการแสดงความเห็นทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในขณะนี้เป็นเพียง การแสดงความคิดเห็น อาจมีบางส่วนที่เกิดขึ้นจากอุดมการณ์ ขณะเดียวกัน เฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ก็เป็นช่องทางสื่อสารที่ผู้แสดงทัศนคติทราบว่า ความแตกต่างทางความคิดจะไม่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์โดยตรงเท่ากับการแสดงออกต่อ หน้า ทำให้จำนวนผู้ใช้ช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ประกอบกับประเด็นการเมืองเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน จึงได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว ยอมรับว่าขณะนี้ ตนก็แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองโดยตลอด เนื่องจากพื้นฐานทางความรู้สึกที่ไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งทางสังคม เมื่อมีผู้คิดแตกต่างจึงทำให้เกิดความรู้สึกต้องการแบ่งปันทางความคิด

“เราสามารถแสดงความเห็นแตกต่างจากผู้อื่นได้ แต่สิ่งสำคัญคือความสามารถในการยอมรับความเห็นของผู้อื่น ขณะนี้ สังคมเกิดความขัดแย้งอย่างหนักถึงขนาดกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือ สถานที่ทำงาน เนื่องจากการเมืองถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ ในสังคม จึงทำให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมและต้องการบทบาททางสังคมมากขึ้น” จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กล่าว

พ.ญ.โชษิตา ให้ข้อมูลอีกว่า ปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดจากความคิดแตกต่างทางการเมือง ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละกรณี รวมถึงการรู้จักแบ่งแยกการเมืองและเรื่องครอบครัวออกจากกัน บางครอบครัวที่เกิดการโต้เถียงหรือทะเลาะรุนแรงจากประเด็นการเมือง ถือเป็นกรณีที่ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน

“ครอบครัวที่พ่อแม่เถียงกันเรื่องการเมือง ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าลูกจะไม่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดได้ลึกซึ้ง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและกลายเป็นปัญหาระยะยาวที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ของผู้ใหญ่ในบ้าน ทางออกที่ดีที่สุดคือ การแยกแยะให้ออก พ่อแม่ต้องรู้และเข้าใจว่าทุกคนสามารถแสดงความเห็นแตกต่างกันได้ แต่ต้องไม่นำประเด็นขัดแย้งทางการเมืองมาสร้างความขัดแย้งในบ้าน”

พ.ญ.โชษิตา แนะนำด้วยว่า แม้ขณะนี้ยังไม่มีครอบครัวใดขอรับการรักษาจากความขัดแย้งประเด็นดังกล่าว แต่ยอมรับว่าอาจเริ่มมีบ้างแล้ว คำแนะนำคือ หากในครอบครัวเริ่มทะเลาะเบาะแว้งด้วยความเห็นต่างทางการเมือง ก็สมควรขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรืออาจโทรขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือพยาบาลจิตนิเวช กรมสุขภาพจิต ผ่านหมายเลข 1323 ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่กระบวนการรักษากับจิตแพทย์

แม้ปรากฏการณ์แสดงออกทางการเมืองผ่านสังคมออนไลน์ จะยังไม่มีคำตอบแน่ชัดว่ามาจากเหตุใด แต่สิ่งที่ปรากฏอย่างเด่นชัดคือ อิสระทางการแสดงความคิดเห็น ผ่านช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วอย่างอินเทอร์เน็ต ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การแสดงจุดยืนหรือการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ต่างทำให้สังคมและผู้คนเดือดร้อนถึงขั้นสร้างความแตกแยกและรุนแรงขึ้นได้ จากจุดเริ่มต้นในการพิมพ์อักษรเพียงไม่กี่ตัว ด้วยความไม่ตั้งใจ

เจาะลึกการค้นหา Google Insight Search

การค้นหา หรือ Search ได้กลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใช้งานกัน ไม่น้อยไปกว่าการส่งอีเมล์ หรือ การใช้งานเว็บสังคมออนไลน์ กิจกรรมการค้นหาจึงเหมาะกับผู้ที่กำลังสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่าค้นหาตาม คำหลัก หรือ Keyword
เว็บไซต์สำหรับค้นหามีมากมายในปัจจุบัน แต่เว็บไซต์สำหรับค้นหาหลักๆ ก็มีเพียงไม่กี่ไซต์ Google เป็นเว็บไซต์สำหรับค้นหาอันดับหนึ่งของโลก โดยมีส่วนแบ่งมากกว่าร้อยละ 50 ทั่วโลก และมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับประเทศไทย ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่คำหลักในการค้นหาของ Google จึงกลายเป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับการวิจัย อาทิ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตให้ความสนใจในเรื่องใด ประเทศไหนหรือภูมิภาคใดให้ความสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ เป็นต้น
Google Insight Search (http://www.google.com/insights/search) เป็น เครื่องมือที่ให้ข้อมูลเชิง ลึกการค้นหา คุณสามารถเปรียบเทียบ ข้อความค้นหามากกว่าหนึ่งข้อความ โดยพิจารณาตามภูมิศาสตร์ ภาษา ช่วงเวลา และหมวดหมู่


ประโยชน์ที่คุณจะได้รับ จาก Google Insight Search
1.เปรียบเทียบข้อความค้นหา ว่าข้อความใดได้รับสนใจในแต่ภูมิศาสตร์ ช่วงเวลา เป็นต้น
2.ใช้พิจารณาแนวโน้ม (Trends) ของสินค้า หรือ ความสนใจใดๆ โดย Google Insight Search จะแสดงเป็นกราฟ ตลอดช่วงเวลา
3.ใช้พิจารณากระแสความสนใจของสินค้า ตราสินค้า หรือ พิจารณาการรับรู้ตราสินค้าของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มหันตภัยจาก ICT

หลาย ๆ คนเมื่อเห็นชื่อบทความแล้วคงจะพูดว่า อะไรกันนักกันหนา คนที่เขียนบทความนี้ ประสาท
กลับหรือเปล่ากล้าใช้คำว่า มหันตภัย เชียวหรือ มันไม่หนักเกินไปหรือ เพราะโดยทั่วไปแล้วมีแต่คนยกย่อง
ชมเชย มองเห็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลของ ICT แต่นี่กลับมีแนวความคิดสวนทางกันกับคนทั่วไป
หรือทั่วโลกก็ว่าได้ ครับผมไม่เถียงว่า ICT มีประโยชน์มากมายมหาศาลจริง ซึ่งทุกคนที่คลุกคลีกับ ICT รู้ดี
และก็รู้ดีอีกว่ามันก็มีโทษมหาศาลเช่นกัน จะมีคนไทยกี่เปอร์เซ็นต์ครับที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับความรู้
ทางด้าน ICT เข้าใจในระบบ ICT และสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้เทคโน โนโลยีเหล่านี้ได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับในปัจจุบัน ขนาดประเทศที่เขาเจริญแล้วมี
การศึกษาเจริญกว่าประเทศเราเขาก็ยังประสบปัญหาต่าง ๆ นานา อยู่เป็นประจำ แม้แต่บางคนยังไม่ทราบ
ความหมายของ ICT ด้วยซ้ำไป เพราะคนไทยมีนิสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศละก็ จะไม่ใส่ใจศึกษาเลย (ยกเว้นนักการศึกษา) และที่ร้ายไปกว่านั้นอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ผลิตจากต่างประเทศทั้งนั้น
ภาษา คำศัพท์เทคนิคก็เป็นภาษาต่างประเทศด้วย นี่ละครับคือสาเหตุหรือจุดด้อยที่ทำให้คนไทย ใช้เทคโนโล
ยีไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ บางคนก็มีความรู้แบบ งู ๆ ปลา ๆ ไม่ได้เข้าใจอย่างแท้จริง เรามาดูว่า ICT ย่อมาจากอะไร? มีความหมายว่าอย่างไร?
I ย่อมาจากคำว่า Information แปลว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล การประมวลผล เป็นการบวก ลบ คูณ หาร การจัดกลุ่ม การจัดจำพวก ฯลฯ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการแปลความหมายทำความเข้าใจได้ง่าย ทำให้มีความเข้าใจตรงกัน
C ย่อมาจากคำว่า Communication แปลว่า การสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันระบบสื่อสารการโทรคมนาคม ได้เชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ในโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดสังคมยุคไร้พรมแดน มนุษย์ซึ่งอยู่คน
ละซีกโลกสามารถติดต่อถึงกันโดยใช้เทคโนโลยีหลายรูปแบบเช่น อินเทอร์เน็ตก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่
สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เกือบทุกรูปแบบ
T ย่อมาจากคำว่า Technology แปลว่า การประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประ
โยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคโลกไร้พรมแดน แบบนี้ เราคงปฏิเสธความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีต่างที่ผลุดขึ้นมาเหมือนอย่างดอกเห็ดไม่ได้ เนื่องจากมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว จากความสำคัญและประโยชน์อันมากมายมหาศาลที่มากับ ICT นี้เอง มันได้แฝง
มหันตภัยอันมากมายมหาศาลมาให้ผู้ที่ใช้ ICT อย่างมากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน กับผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กหรือเยาวชนไทยที่ไม่ได้รับการแนะนำในการใช้ ICT ที่ถูกต้องจากพ่อ-แม่ ครูอาจารย์
หนักไปกว่านั้นผู้ใหญ่บางคนได้แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กหรือเยาวชน โดยใช้ ICTหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการหากินอย่างไร้คุณธรรมและเมตตาธรรม
ต่อไปเรามาดูกันว่ามหันตภัยที่มากับ ICT มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างส่งผลกระทบหรือทำให้เกิดผลเสีย
หายต่อบุคคลหรือสังคม ประเทศ หรือแม้แต่โลกเราทุกวันนี้อย่างไร
ภัยที่มากับอินเทอร์เน็ต หรือภัยไซเบอร์ขณะที่ชุมชนใหม่บนโลกไซเบอร์กำลังก่อเกิดขึ้น การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่า สะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการในทุกด้าน โลกที่เปิดกว้างนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ให้กับผู้คนในหลากหลายรูปแบบ แต่ขณะเดียว กันสังคมไซเบอร์ก็นำพาปัญหามาให้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะ เยาวชน ที่อาจเผลอไผลใช้เทคโนโลยีโดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ จนเกิดเป็นภัยร้ายลุกลามได้ หากเอ่ยถึงภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามีหลากหลายรูปแบบให้ต้องระแวดระวัง เพราะโลกไซเบอร์มีครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกมุมโลก ภัยที่แฝงอยู่จึงมาได้หลายทาง หากแบ่ง แยก แล้ว อาจได้ประมาณ 3 กลุ่ม คือ
ภัยจากคนแปลกหน้า หรือ บุคคลเสมือน บางทีเด็กหญิงที่เราเจอในแช็ตรูม ที่จริงอาจเป็นชายวัยกลางคนที่เข้ามาพูดคุย สร้างภาพเพื่อหลอกให้เราตายใจ หวังล่อลวงนัดพบ และเมื่อออกไปเจอเขาก็อาจถูกล่วงเกินหรือทำร้าย มิจจาชีพกลุ่มหนึ่งทำเว็บไซต์ปลอมหลอกให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ เลขรหัสบัตรเครดิต แล้วนำไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา
ภัยจากเนื้อหาต้องห้าม อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวมเนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ความคิดเห็นนานาจากผู้คนทั่วโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีทั้งข้อมูลที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์และข้อมูลที่ เป็นอันตราย เช่น มีการเผยแพร่ สิ่งพิมพ์รูปภาพ หรือโฆษณาวัตถุลามก อนาจาร ผิดกฎหมาย หมิ่นประมาท ยุยงก่อให้เกิดความแตก แยกในสังคม เนื้อหารุนแรงเกลียดชัง บ่อนทำลาย ผิดศีลธรรม เนื้อหาทางเพศโจ่งแจ้ง บางส่วนเป็นเพียงความ คิดเห็นส่วนตัวที่เอนเอียง บางส่วนไม่ใช่ความจริงผู้อ่านจึงต้องรู้เท่าทันสิ่งที่อ่านเจอบนอิน เทอร์เน็ต
ภัยจากการใช้งานไม่เหมาะสมอื่น ๆ ไวรัสคอมพิวเตอร์แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านเครือขายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้ที่ขาด ความรู้และความระมัดระวัง กระจายตัวอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายได้คราวละมาก ๆ นอนกจากนี้ ยังมีผู้ไม่ประสงค์ดีทำการบุกรุกเครือข่ายเพื่อขโมยข้อมูล แก้ไขข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทำการโจมตีให้ระบบล่ม ภัยจากโลกไซเบอร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งได้แก่ การที่เด็กและเยาวชนใช้เวลามากเกิน ไป บนโลกออนไลน์ ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ละเลยต่อการเรียนหรือกิจกรรมกลางแจ้งในโลกปกติ ทำให้เสียสุขภาพและขาดทักษะการเรียนรู้ทางสังคม
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีอัตราค่าบริการค่อนข้างสูง
ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลคุณภาพต่ำวงจรสื่อสารความเร็วสูง ยังไม่แพร่หลาย
ความปลอดภัยในการส่งข่าวสารข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีน้อย ซึ่งจะเห็นได้จากกระทรวงทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ประกาศห้าม ข้าราชการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนส่งข่าวสารข้อมูลโดยกำหนดระยะเวลาให้งดใช้ ดังนี้ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปให้งดใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ส่วนข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาให้เลิกใช้ภายในระยะเวลา 1 ปี(ประกาศ สำนักงานปลัดกระทรวง)
โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆอินเทอร์เน็ต เป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก, มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร, ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่, ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้ คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
พิชชิ่ง(Pifishing) คือการเลียนแบบทำเหมือนต้นฉบับทุกประการ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ส่วนใหญ่อาชญากรจะใช้ในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน อย่างเช่น การฝากเงิน การถอน หรือการโอนเงิน ด้วยการตั้งเว็บไซต์ขึ้นมาเหมือนกับธนาคารทุกประการและหลังจากนั้นจะมีการ หลอกผู้ที่เข้าไปใช้บริการเพื่อเอารหัสบัญชีแล้วนำไปทำธุรกรรมอย่างอื่น ภัยจากเว็บแคม ถือได้ว่าเป็นภัยที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่น เพราะมิจฉาชีพจะติดกล้องไว้ที่ตัวคอมพิวเทอร์เพื่อดูพฤติกรรมของอีกฝ่าย หนึ่ง และเว็บแคมทุกวันนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นลามกอนาจารหรือเรียกกัน แบบง่าย ๆก็คือการขายบริการทางเพศทางเว็บนั่นเอง ทีนี้ลองมานึกภาพดูซิว่าถ้าเป็นลูกหลานของท่านกลังมีพฤติกรรมแบบนี้และไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตนเอง ได้ผลที่จะตามมาก็คือ เสียเงินค่าบริการ ขาดความสนใจในการเรียน เสียสุขภาพเพราะนอนดึก ร้ายไปกว่านั้นส่งผลถึงสุขภาพจิตซึ่งไม่แน่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการข่มขีนกระทำชำเราตามที่เป็นข่าวอยู่เนือง ๆ
ภัยจากบัตรเครดิต ซึ่งเป็นภัยของพวกนักช๊อปหรือผู้ที่ไม่ต้องการพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมากก็ จะใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้าต่างๆ แต่ใครจะรู้ว่าถึงเวลาชำระค่าบัตรกลับมีตัวเลขที่ต้องชำระเพิ่ม ขึ้นอย่างมากโขทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งวิธีการที่พวกมิจฉาชีพมักจะหาประโยชน์จากบัตรเครดิตคือ ทุกครั้งที่มีการรูดบัตรตัวเครื่องก็จะทำการอ่านบัตรและเชื่อมต่อไปยัง ธนาคารเจ้าของบัตร แต่ระหว่างที่มีกาติดต่อกัน ระหว่างเครื่องรูดบัตรกับธนาคาร พวกมิจฉาชีพก็ได้นำเครื่องเล่น MP3 ไปไว้เพื่อดักฟังข้อมูล
ภัยที่มากับเกมคอมพิวเตอร์ ฟังดูเผินๆแล้วไม่น่าจะมีพิษสงอะไรมากนัก เพราะเป็นเกมเล่นเฉย ๆ
แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าเกมคอมพิวเตอร์ได้ส่งผลเสียต่อผู้คน ที่ขาดสติสัมปชัญญะจนเสียผู้เสียคนมามากต่อมากแล้ว เกมก็เหมือนกับของหลาย ๆ อย่างในโลกนี้มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ถ้ารู้จักใช้หรือใช้
อย่างพอเหมาะพอดีก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าไม่รู้จักใช้หรือใช้มากเกินไปก็จะก่อให้เกิดโทษ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประโยชน์ของเกมให้ท่านผู้อ่านไปสืบค้นหรือคิดเอาเอง แต่จะขอสรุปถึงข้อเสียหรือภัยที่มากับเกมคอมพิวเตอร์ที่ผู้เขียนได้ศึกษา หรือได้จากประสบการณ์หรือพบเห็นมาดังนี้คือ
1.เสียสุขภาพกาย ถ้าใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคCVS(Computer Vision Syndrome)
คือมีอาการปวดกระดูกข้อมือ ปวดกล้ามเนื้อที่คอ หลัง ไหล่ ปวดตา แสบตา ตามัว หรือมีอาการปวดหัว
ร่วมอยู่ด้วย บางคนเล่นจนลืมหิว ลืมง่วง ไม่กินไม่นอนร่างกายก็แย่ หรือทานอาหารหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่
ได้ออกกำลังกาย โรคอ้วนก็จะถามหาได้เช่นกัน
2.เสียการเรียนหรือการงาน เกมจะดึงดูดความสนใจจากเด็ก ทำให้เด็กไม่ใส่ใจในการเรียนเท่าที่ควรยิ่งเด็กแบ่งสรรเวลาไม่เป็นก็ยิ่งมีผลต่อการเรียนมากขึ้น เกมจะดึงดูดเวลาทำการบ้าน ความรับผิดชอบงานบ้านของเด็กไปจนหมด บางคนถึงกับหนีโรงเรียนเพื่อไปเล่นเกม ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มมากขึ้น บางคนถึงกับขโมยเงินผู้ปกครองเพื่อนำไปเสียค่าเกมหนักไปกว่านั้นบางคนขาด เรียน หนีเรียนไปเล่นเกมจนไม่มีสิทธิ์สอบ ต้องออกจากโรงเรียนโดยปริยายก็มีมากมาย
3.ขาดสังคมกับคนจริง ๆ หรือขาดสัมพันธภาพแบบเผชิญหน้าพบปะพูดคุยโดยตรงซึ่งจะมีผลต่อการคบหาสมาคม และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เด็กพวกนี้ตามที่ผู้เขียนได้ประสบพบมา ใบหน้าจะบึ้งตึงเงียบ
ขรึม ตอบคำถามแบบสั้น ๆ ถามคำตอบคำ ไม่ชอบพูดคุยกับเพื่อน ไม่ร่าเริงแจ่มใส มักจะปลีกตัวอยู่คนเดียว
เงียบ ๆ ไม่ชอบพูดรงเรียน ชอบโกหก เหม่อลอย
4.บางเกมมีผลต่ออารมณ์ เช่นเหนี่ยวนำให้เกิดอารมณ์รุนแรง และพฤติกรรมก้าวร้าว ทำให้ชินกับการแก้ปัญหาด้วยกำลังแทนการใช้สติปัญญา ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีผู้กล่าวว่าภาพยนตร์แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวให้เด็กเห็น แต่เกมคอมพิวเตอร์สอนให้เด็กลงมือกระทำและรู้สึกตื่นเต้นกับการระทำนั้น
หรือการที่เด็กยิงปืนเพื่อสังหารคู่ต่อสู้ในเกมเปรียบเสมือนกับการยิงหรือสังหารคู่ต่อสู้โดยไม่ต้องคิดไตร่
ตรอง ถ้าหากท่านเป็นผู้ปกครองลองสังเกตดูลูกของท่านกำลังเล่นเกมต่อสู้หรือเกมที่มีการฆ่ากัน ให้ท่านสัง
เกตดูอากับกิริยาของเด็กจะเห็นมีความเครียดอยู่มาก ขณะเดียวกันท่านลองไปทักหรือใช้หรือบอกให้หยุด
เด็กจะแสดงอาการไม่พอใจ หรืออาการก้าวร้าวออกมาให้เห็นทันที ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าเกมบางเกมมีผลต่อ
อารมณ์และจิตใจของเด็กมาก
5.สร้างปัญหาต่อครอบครัว พ่อแม่ที่หวังให้เกมเป็นเครื่องมือเพื่อดึงดูดลูกให้อยู่กับบ้านไม่ไห้ไป
ไหน หรือปล่อยให้ลูกอยู่กับเกมตามลำพัง โดยนอนใจว่าลูกจะคลายเหงา และมีกิจกรรมยามว่าง หรือรู้สึก
ว่าไม่มีภาระต้องคอยห่วงคอยกังวลว่าลูกจะไปทำอะไรที่ไหน ท่านคิดผิดอย่างใหญ่หลวงเพราะผลที่จะเกมตามมา คือเกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะเกิดปัญหาสลดในในสังคมไทยมามากต่อมากแล้ว เช่น
ลูกติดเกมไม่ยอมกลับบ้าน ปัญหาระหว่างแม่กับลูกวัยรุ่นที่ติดเกมพอแม่เตือนลูกก็ไม่ยอมพูดด้วย ลงท้าย
แม่เลยกระโดดตึกฆ่าตัวตายเป็นต้น ถ้าหากท่านสังเกตให้ดีจะเห็นว่า เด็กได้เล่น หรือวิ่งเล่น กับเพื่อน ๆ ได้เข้าสังคมกับเพื่อน เขาจะมีความสุข สนุกสนานมาก แสดงว่าเขาไม่มีความเครียดหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น
วิธีการคลายเครียดที่ดีที่สุดสำหรับเด็กนอกจากนั้นเขายังได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวเขาด้วย ดังนั้น
ถ้าเด็กเล่นแต่เกมก็จะเพาะนิสัยรักการอ่านได้ยาก การพัฒนาด้านสติปัญญาจึงถือว่าเป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก
สำหรับเด็กที่ติดการเล่นวิดีโอเกม
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสังคมปัจจุบันนี้มีภัยต่างๆที่แฝงตัวอยู่ทุกส่วนของ สังคมไม่ว่าจะเป็นภัยการถูกแอบถ่ายรูป หรือภัยจากการลักลอบโอนเงินจากธนาคาร เป็นต้น และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในโลก “ไซเบอร์” อย่างอินเทอร์เน็ต ที่เข้ามาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนอยากที่จะหาทางแก้ไขได้ และที่สำคัญภัยในโลกไซเบอร์นั้นมีความน่ากลัวมากกว่าโจรผู้ร้ายหรืออาชญากร อีกเป็นเท่าตัว เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ไม่เว้นแม้แต่ในห้องนอนของเราเอง ภัยในโลก ไซเบอร์ ทุกวันนี้ได้ผุดขึ้นมาคุกคาม ประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะกับเยาวชนที่มักจะเป็นเป้าหมายของการถูกทำร้ายในโลกไซเบอร์ เพราะเยาวชนทุกวันนี้มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเทอร์เพียง ลำพัง โดยปราศจากการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครองดังที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน

“ ไอซีทีไม่ได้ดีเสมอไปอย่างที่คิด
หากใช้ผิดจุดประสงค์จำนงหมาย
ก่อให้เกิดภัยมหันต์อันมากมาย
หากผู้ใช้ไร้ความคิดผิดศีลธรรม ”

ชีวิตยุค 3G เตือนภัยจากไซเบอร์

ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย นำเสนอผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดเรื่อง “ภัยไซเบอร์ : การรับรู้และความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ” โดยมี ผศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำเสนอผลงานดังนี้
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ส่งผลต่อปัญหาด้านอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตที่สูงขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลคดีอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ถึงเดือน กรกฎาคม 2553 พบว่าการดำเนินคดีตามกฎหมายมีเพียง 185 คดีที่ขึ้นสู่ชั้นศาล ซึ่งอาจเกิดจากการยอมความกันในขั้นสอบสวนหรือผู้ตกเป็นเหยื่อที่อาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต รวมถึงไม่ทราบขั้นตอนในการดำเนินการเมื่อตกเป็นเหยื่อ
ปัญญาสมาพันธ์ฯ ในฐานะองค์กรที่ทำหน้าที่เชิงวิชาการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม จึงเล็งเห็นความจำเป็นของการศึกษาถึงการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องภัยไซเบอร์
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งมีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน วันละประมาณ 1-2 ชั่วโมง สถานที่ใช้มากที่สุดคือที่บ้าน ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยถูกกระทำจากภัยทางไซเบอร์นัก แต่สำหรับผู้ที่ถูกกระทำแล้ว พฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดคือได้รับอีเมล โฆษณาขายสินค้าหรือชักชวนทำงานจากบุคคลที่ไม่รู้จัก รองลงมาคือ ได้รับไวรัสทางอีเมลหรือจากการเปิดเว็บไซต์ และถูกใช้คำพูดไม่สุภาพ หมิ่นประมาททาง อีเมล เว็บบอร์ดหรือสังคมออนไลน์ ส่วนการดำเนินการเพื่อเอาผิด กลับพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ดำเนินการใดๆ กับผู้กระทำความผิดเลย รองลงมาคือเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านสังคมออนไลน์และผู้ดูแล ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรู้สึกเข้าถึงได้มากกว่า
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า บทลงโทษของผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสมควรทั้งถูกจำคุกและปรับเงินมากที่สุดถึงร้อยละ 62 โดยร้อยละ 42.6 ตอบว่ารู้สึกกลัวที่จะกระทำผิด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มที่รู้สึกว่ากลัวจะตกเป็นเหยื่อที่มีมากถึงร้อยละ 58.3 และส่วนใหญ่ตอบต้องการให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลและป้องกันภัยทางไซเบอร์
ขณะที่คำถาม หากโดนกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตสามารถเรียกร้องได้ที่ไหนกับใคร พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.1 ทราบว่าร้องเรียนได้แต่ไม่ทราบว่าจะต้องร้องเรียนที่ไหนกับใคร รองลงมาร้อยละ 34.0 ตอบว่าไม่เคยทราบมาก่อนว่าร้องเรียนได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35 ไม่ทราบมาก่อนว่ามีกฎหมายนี้ ราวร้อยละ 35.9 ตอบว่าทราบว่ามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แต่ไม่เคยอ่าน มีร้อยละ 22 ที่เคยอ่านแต่ไม่เข้าใจในบางประเด็น
ทั้งนี้ กลุ่มเยาวชนอายุ 15-25 ปีเหล่านี้ยังมีความเห็นว่าพระราชบัญญัติสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับน้อย ในขณะที่ทุกกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 68.4 ตอบสอดคล้องว่าพระราชบัญญัติสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับน้อยที่สุดถึงปานกลาง และอีกร้อยละ 12.4 เห็นว่าพระราชบัญญัติไม่สามารถป้องกันปัญหาได้
แนวทางในการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและสร้างการเข้าถึงของประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตว่า 1.ควรจัดให้มีสายด่วนร้องทุกข์ เว็บไซต์หรือหน่วยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สามารถให้คำปรึกษา ร้องเรียน หรือแจ้งความการกระทำผิดทางออนไลน์ให้บริการ 24 ชั่วโมง 2.จัดทำกิจกรรมหรือโครงการที่เผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างสามัญสำนึกและปลูกฝังจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์และสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะที่เป็นเด็กและเยาวชน 3.ควรตั้งหน่วยงานคุ้มครองประชาชนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจากภัยไซเบอร์ ให้มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย แจ้งเหตุ เตือนภัยหรือรับเรื่องร้องเรียนเมื่อพบเหตุการณ์ที่ไม่ปกติในโลกไซเบอร์
โดยรับสมัคร “อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยจากไซเบอร์” จากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชนและประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกันเอง

ไอที": ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตกำลังเพิ่มมากขึ้น ถึงขนาดต้องร่วมกันหาทางแก้ไขในเวทีประชุมเศรษฐกิจโลก

จากอินเทอร์เน็ตเวิลด์สแทตส์รายงานว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 1,700 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นต่อไป ฉะนั้นจึงมีผู้ที่ไม่หวังดีโจมตีอินเทอร์เน็ตเป็นการใหญ่ ทั้งเพื่อความสะใจและเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางด้านการเงิน มีรายงานเมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ 2553 จาก "เน็ตวิทเนสส์(NetWitness)" ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตว่าได้ค้นพบการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์กว่า75,000 ระบบ ใน 2,500 หน่วยงานทั่วโลก ความจริงการโจมตีนี้เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2551 แต่ผู้เชี่ยวชาญของเน็ตวิทเนสเพิ่งจะค้นพบเมื่อเดือนมกราคม 2553 โดยการโจมตีดังกล่าวมุ่งเป้าไปที่บริษัทด้านการเงินเครือข่ายสังคม และระบบอีเมล์ ผู้โจมตีสามรถใช้ข้อมูลที่โจมตีมานั้น อาทิ ชื่อบัญชีและรหัสผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพื่อเข้าไปในบัญชีของเจ้าของแล้วขโมยความลับของหน่วยงานเหล่านั้น หรือปลอมตัวเป็นเจ้าของบัญชีแล้วก่อความเสียหายทางด้านการเงินรวมแล้วได้มีการขโมยชื่อบัญชีและรหัสผ่านไปกว่า 68,000 บัญชี ทั้งนี้ หน่วยงานที่ถูกโจมตีมีตั้งแต่กูเกิลไปถึงธนาคาร บริษัทด้านพลังงาน การทหาร เทคโนโลยี และสื่อต่างๆ กว่า30 แห่ง
เมื่อเดือนธันวาคม 2552 "แพนด้าซีเคียวริที้ (Panda Security)" ได้คาดการณ์แนวโน้มภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ต้องระวังในปี พ.ศ. 2553 แนวโน้มที่หนึ่ง คือโปรแกรมประสงค์ร้าย หรือ "มัลแวร์ (Mal-ware)" ซึ่งจะมีมัลแวร์ชนิดใหม่ๆ ที่ยากต่อการตรวจพบและทำลาย แนวโน้มที่สอง คือ"การโจมตีโดยใช้วิศวกรรมสังคม (Social Engineering Attack)" โดยผู้โจมตีจะมุ่งเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ปลายทางแล้วหลอกลวงและเกลี้ยกล่อมทางสังคมให้ผู้ใช้บอกความลับให้ แนวโน้มที่สามคือ การหลอกให้ใช้ "ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสปลอม (Rogue Security Software)" ผู้โจมตีจะใช้วิธีล่อลวงให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจ่ายเงินซื้อซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสปลอม ทำให้ผู้ที่หลงซื้อซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสปลอมเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว แนวโน้มที่สี่ คือ "การโจมตีผ่านการสืบค้นข้อมูล (Search Engine Optimization)" จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ค้นหาคำที่ต้องการผ่านเว็บสืบค้นข้อมูล อาทิ กูเกิล และยาฮูเป็นต้น ซึ่งลิงก์ที่มีมัลแวร์แฝงอยู่จะปรากฏใกล้กับตำแหน่งสูงสุดของผลการค้นหา เมื่อผู้ใช้หลงกลคลิกเข้าไปในลิงก์ที่มีมัลแวร์แฝงอยู่จะส่งผลให้ลิงก์นั้นมีจำนวนคลิกที่มากขึ้นและทำให้ลิงค์ปรากฏอยู่ในตำแหน่งต้นๆ ของการค้นหาวิธีการนี้จึงทำให้ผู้ใช้เสียเวลาไปกับการเข้าเว็บที่ไม่ต้องการ แนวโน้มที่ห้า คือ "วินโดว์สเซเวน(Windows 7)" จะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีเพราะเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวมาเมื่อไม่นาน และคาดว่าจะมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นจากหลายช่องทาง อาทิ คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ เป็นต้น และแนวโน้มที่หก คือ การเกิด "มัลแวร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน (Specific Malware)" อาทิมัลแวร์ที่โจมตีระบบเอทีเอ็ม และมัลแวร์ที่โจมตีระบบการโหวตผ่านโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับรายการเรียลลิตี้โชว์หรือการแข่งขันรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 "โซฟอส(Sophos)" บริษัทด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ได้จัดอันดับ 10 ประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวของมัลแวร์และการโจมตีแบบฟิชชิ่งมากที่สุดในปี พ.ศ. 2552 อันดับที่หนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกามีอัตราการขยายตัวร้อยละ 37.4 อันดับที่สองคือ รัสเซีย ขยายตัวร้อยละ 12.8 อันดับที่สาม คือจีน ขยายตัวร้อยละ 11.2 อันดับที่สี่ คือ เปรูขยายตัวร้อยละ 3.7 อันดับที่ห้า คือ เยอรมนีขยายตัวร้อยละ 2.6 อันดับที่หก คือ เกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.4 อันดับที่เจ็ด คือ โปแลนด์ขยายตัวร้อยละ 2.1 อันดับที่แปด คือ ไทย ขยายตัวร้อยละ 2 อันดับที่เก้า คือ ตุรกี ขยายร้อยละ1.9 และอันดับที่สิบ คือ สหราชอาณาจักรรขยายตัวร้อยละ 1.6 น่าสังเกตว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 8 ฉะนั้น ชาวไทยจึงควรสนใจหาทางปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น
ซีแมนเทค (Symantec) ได้สำรวจความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2552 จาก 2,100 บริษัททั่วโลกพบว่าบริษัทในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีอัตราความเสียหายมากที่สุดในโลกคือ ร้อยละ 89 ทั้งนี้ ได้รับความเสียหายจากภัยคุกคามดังกล่าว 200 ล้านเหรียญ หรือประมาณ6,500 ล้านบาท ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้แก่ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัท ทรัพย์สินทางปัญญา และข้อมูลบัตรเครดิต อนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 บีบีซีรายงานว่าได้เกิดการโจมตีแบบ "ปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service)" บนเว็บต่างๆ ของรัฐสภาออสเตรเลียทำให้ไม่สามารถให้บริการได้เป็นเวลา1 วัน ซึ่งทางการออสเตรเลียคาดว่าผู้มีส่วนร่วมในการโจมตีมีประมาณ 500 คน สำหรับวิธีการโจมตีครั้งนี้ผู้โจมตีได้ส่งคำขอใช้บริการไปยังเว็บของรัฐสภาออสเตรเลียเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกันทำให้เว็บทำงานหนักและหยุดชะงักการให้บริการ
การโจมตีเว็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอาทิ เว็บกูเกิล เว็บรัฐสภาออสเตรเลีย และเว็บรัฐสภาสหรัฐอเมริกากว่า 40 เว็บ เป็นต้น ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา จึงได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไปพิจารณาบนเวที "ประชุมเศรษฐกิจโลกครั้งที่ 40 (World Economic Forum Annual Meeting 40)" เมื่อเดือนมกราคม 2553 ที่เมืองดาวอสสวิตเซอร์แลนด์ ว่าจะมีการร่างสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องดังกล่าวขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ สำหรับภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นทั่วโลกนั้น ทำให้หลายประเทศต้องหาทางป้องกันและปราบปรามด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ ร่างสนธิสัญญาว่าด้วยการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ออกกฎหมายคุ้มครองผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จัดซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย จัดจ้างเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ และวางแผนติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบ "เวลาจริง (Real Time)"เป็นต้น สำหรับท่านผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนอกจากควรจะติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามต่างๆ แล้วก็ควรใส่ใจและระมัดระวังภัยที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้นด้วยการติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือแบบ GPRS โดยใช้อุปกรณ์ Bluetooth

อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือด้วยระบบ GPRS ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะว่า ในช่วงนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลาย ๆ ค่าย ก็มีการทำโปรโมชั่นด้านราคา ออกมาค่อนข้างน่าใช้งานมาก โดยมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก และยิ่งถ้านับเรื่องความสะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจทีเดียว
ก่อนอื่น มาดูรูปแบบต่าง ๆ ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือก่อน โดยทั่วไปแล้ว การที่เราจะสามารถทำการ เชื่อมต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ จะแบ่งวิธีการเชื่อมต่อออกเป็น 3 รูป แบบคือ
1. ผ่านสาย Datalink กรณีนี้ ส่วนมาก จะต้องมีสาย Datalink และ software เฉพาะของมือถือแต่ละรุ่น ซึ่งค่อนข้างจะแพง
2. ผ่าน IrDA หรืออินฟาเรด โดยวิธีนี้ จะเหมาะกับมือถือรุ่นเก่า ๆ ข้อเสียคือเวลาใช้งานจะต้องเอา irda มาจ่อให้ตรงกันตลอด
3. ผ่าน Bluetooth หรือระบบเชื่อมต่อไร้สาย วิธีนี้จะสะดวกมาก ไม่มีสาย แต่มือถือที่รองรับ bluetooth จะค่อนข้างแพง
ในที่นี้ จะขอแนะนำการต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน bluetooth โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการทดสอบคือ Bluetooth แบบ USB ของ CSR USB Bluetooth และโทรศัพท์มือถือ Sony Ericsson รุ่น T610 โดย SIM ของมือถือที่จะใช้งาน ต้องผ่านการเปิดใช้บริการ GPRS และตั้งค่าใช้งาน GPRS บนเครื่องโทรศัพท์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถดูวิธีการตั้งค่าจากระบบต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ระบบ AIS
- ระบบ DTAC
- ระบบ Orange
หรือจะโทรสอบถามจาก call center ของแต่ละระบบก็ได้
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth นั้น เราสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น การรับ-ส่งไฟล์ ระหว่างกัน การจำลองให้เป็น Serial Port หรือการเชื่อมต่อเพื่อแชร์เน็ตก็ได้ แต่ในที่นี้ จะขอแนะนำ แค่เพียง การนำเอาระบบ Bluetooth มาเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ เท่านั้นครับ
ขั้นตอนหลักใหญ่ ๆ ในการเซ็ตค่าต่าง ๆ ให้เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ
1. เปิดการใช้งานระบบ GPRS ของมือถือก่อน และเซ็ตค่าสำหรับ GPRS ในเครื่องโทรศัพท์ให้เรียบร้อย
2. ลง Driver ของ USB Bluetooth และเปิดใช้งาน Service ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Dial-Up Networkin
3. ทำการจับคู่หรือ Pairing ระหว่างมือถือและ PC ให้ทั้งสองรู้จักกันได้
4. สร้าง Dial-Up Connection สำหรับใช้ต่ออินเตอร์เน็ต
5. เรียกใช้งานผ่าน Dial-Up Connection ได้เลย
เริ่มต้นการติดตั้ง driver และลง software ที่จำเป็นสำหรับ Bluetooth ก่อน
ก่อนอื่น ก็ต้องทำการลง driver ของ Bluetooth ก่อน ซึ่งขั้นตอนการลง driver อาจจะแตกต่างกันไปจากนี้ ตามแต่ละยี่ห้อ แต่คิดว่า คงจะไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจาก การเสียบ USB Bluetooth ในเครื่อง และเรียกไฟล์ setup สำหรับลง driver จากแผ่นซีดีที่แถมมา


เลือกที่ Install Driver and Application และกด OK ครับ


ขั้นตอนการลง driver และ software ก็ทำไปตามปกติ กดที่ Next ไปเรื่อย ๆ ได้เลย


ทำการลง driver ไปจนเสร็จถึง Finish ครับ


หลังจากลง driver เรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการเซ็ตอัพบริการต่าง ๆ บนเครื่อง โดยโปรแกรมจะเรียก Bluetooth Configuration Wizard ขึ้นมา เพื่อทำการเซ็ตค่าของบริการและทำการจับคู่หรือ Paring กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้อุปกรณ์ สามารถรู้จัก และรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้ ถ้าไม่มีเมนูหน้าจอนี้ ก็ลองค้นหาดูจาก Program Menu ว่ามีโปรแกรมหรือ software อะไรทำนองนี้อยู่บ้าง


ต่อไป ก็จะเป็นการเซ็ตค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์อัตโนมัติ กดที่ Next เพื่อเซ็ตค่าต่อไป


เครื่องจะตั้งชื่อ computer name ตามที่เราเคยใส่ไว้ ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยน ก็กดที่ปุ่ม Next


หน้านี้ จะเป็นการเลือกว่าเราต้องการใช้บริการอะไรจาก Bluetooth ในเครื่องบ้าง อย่างที่ได้บอกแต่ต้นแล้ว ว่าระบบ Bluetooth สามารถมีบริการให้เลือกใช้งานได้หลายอย่าง ตรงนี้เราก็เลือกทุกอย่าง แล้วกด Next ต่อไป


ถึงตรงนี้ จะเป็นการเซ็ตให้เครื่อง PC รู้จักกับ โทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกว่า Pairing หรือการจับคู่ระหว่างอุปกรณ์ เพื่อให้อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด มองเห็นกันและใช้งานร่วมกันได้ ถึงตรงนี้ ให้เราทำการเปิดการใช้งาน Bluetooth ที่เครื่องโทรศัพท์ไว้ เพื่อให้ระบบสามารถค้นหาได้พบ และกดที่ปุ่ม Next เพื่อทำการตั้งค่าต่อไป



รอสักครู่ ระบบจะทำการค้นหาอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน เอาเมาส์กดเลือกที่อุปกรณ์ (เช่น จากตัวอย่างคือ T610) และกดที่ปุ่ม Next



จากนั้น จะเป็นการทำ Pairing หรือการจับคู่ระหว่าง 2 อุปกรณ์ โดยก่อนที่จะทำการจับคู่ได้นั้น จะต้องมีการยืนยันรหัสผ่านหรือ PIN Code ก่อน ซึ่งเราจะตั้งรหัสตรงนี้เป็นเลขอะไรก็ได้ (ตั้งเป็นตัวเลขนะครับ) เมื่อใส่ Pin Code ที่ตั้งขึ้นมามาแล้ว กดที่ปุ่ม Initiate Paring เพื่อทำการจับคู่ให้สำเร็จก่อนที่เครื่องโทรศัพท์ ก็จะมีเมนูของการทำ Paring หรือจับคู่ หรืออาจจะเป็นคำว่า "เพิ่มอุปกรณ์ของฉัน" ทำนองนี้ ให้ใส่รหัสยืนยัน PIN Code ที่เราตั้งไว้ให้ตรงกัน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว



เมื่อเราสามารถทำการ Paring ได้เรียบร้อยแล้ว ก็มาเลือกว่า จะใช้บริการอะไรบ้าง ตรงนี้ อย่างที่บอกว่า จะขอแนะนำเฉพาะการต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือเท่านั้น ก็ให้เลือกที่บริการ Dial-up Networking


เมื่อเลือกที่บริการ Dial-up Networking แล้ว อาจจะมีเมนูให้ทำการตั้งค่าระบบ ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนอะไรมาก กดปุ่ม OK ไปเลย


ถึงตรงนี้ ก็เป็นอันเสร็จแล้วครับ ถ้าไม่มีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะมา Paring ก็กดที่ปุ่ม Skip เพื่อจบขั้นตอนการเซ็ตค่าได้เลย


ตรงนี้ก็ถือว่า ขั้นตอนการลง driver และเซ็ตระบบต่าง ๆ ก็เสร็จเรียบร้อยครับ กดที่ปุ่ม Finish

ถึงตรงนี้ เราก็พร้อมที่จะใช้งาน Modem ผ่าน Bluetooth ได้แล้ว ซึ่งในกรณีที่เราตั้งค่าต่าง ๆ ตามด้านบนเรียบร้อยแล้ว ให้ทดลองต่อเข้าอินเตอร์เน็ตดูก่อน ถ้าหากสามารถใช้งานได้ ก็ให้ข้ามขั้นตอนการตั้งค่าของโมเด็มนี้ไปเลย แต่ถ้าหากทดลองต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว ยังไม่สามารถใช้งานได้ ให้ทดลองเข้ามาตั้งค่าของโมเด็มเพิ่มเติมตรงนี้

โดยเริ่มจาก เข้าไปที่หน้า control panel ครับ


กดเลือกและดับเบิลคลิกที่ Phone and Modem


จะเห็นว่ามี Bluetooth Modem เพิ่มขึ้นมาจากเดิม กดเลือกที่ Bluetooth Modem และกดที่ปุ่ม Properties


กดเลือกที่ Advanced และให้ใส่คำว่า AT+CGDCONT=1,"IP","internet" ลงไปในช่อง Extra initialization commands และกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้าเดิม และปิดหน้า control panel ได้เลย

การเริ่มต้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย Dial-up Network Connection
หลังจากที่ทำการตั้งค่าต่าง ๆ แล้ว เมื่อเข้ามาที่หน้า Dial-up Network Connections ก็จะเห็นว่า มีรายการ Dial-up เพิ่มขึ้นมาอีก 1 อันคือ Bluetooth Connection ซึ่งก็จะเหมือนกับ Dial-up ทั่ว ๆ ไปนั่นเอง สำหรับบางเครื่องหรือ Bluetooth บางยี่ห้อ ถ้าหากไม่มี Dial-up ตัวใหม่เพิ่มมา อาจจะทดลองสร้าง Dial-up Connection ขึ้นมาเองก็ได้ โดยให้ทำเหมือนกับการสร้างจากโมเด็มธรรมดา แต่แทนที่จะเลือกโมเด็มตัวเดิม ก็เปลี่ยนมาใช้ Bluetooth Modem แทน และถ้าหากท่านไม่พบว่ามี Bluetooth Modem เพิ่มขึ้นมา ให้ลองตรวจสอบดูว่า ได้เปิดบริการของ Dial-up Networking ของ Bluetooth ไว้แล้วหรือยังก่อน


ลองกดเมาส์ขวาที่ Dial-up ของ Bluetooth Connection และเลือกที่ Properties


หน้าตา ก็เหมือนกับ Dial-up ทั่วไปนั่นแหละครับ แต่ตรงเบอร์โทร Phone number แทนที่จะใส่เป็น เบอร์สำหรับ การเชื่อมต่อ ของอินเตอร์เน็ตทั่วไป ก็ต้องเปลี่ยนเบอร์ใหม่แบบ GPRS ซึ่งสามารถหาข้อมูลเบอร์นี้ได้จากเว็บไซต์ของมือถือแต่ละค่าย หรือโทรสอบถามจาก call center ของมือถือได้เลย โดยคร่าว ๆ ที่ทราบมาจะใช้เบอร์ดังนี้
Orange = *99#
AIS = *99***1#
DTAC = *99***2#
หลังจากใส่เบอร์แล้วก็กด OK
เสร็จแล้ว เมื่อต้องการจะต่ออินเตอร์เน็ต ก็เรียกที่ Dial-up Connection เหมือนกับการต่อเน็ตทั่วไป


ในกรณีระบบ GPRS ของโทรศัพท์ Orange จะต้องใส่ user และ password เป็นคำว่า orange ด้วย แต่ GPRS ของ AIS หรือ DTAC ไม่ต้องใส่ ให้เว้นว่างไว้ และกดที่ปุ่ม Dial เพื่อเริ่มต้นการต่อเน็ต


หน้าจอการเชื่อมต่อเน็ต ก็จะคล้าย ๆ กับการต่อเน็ตธรรมดานั่นแหละ


รอสักพักนึง เมื่อต่อได้เรียบร้อยแล้ว ลองกดดูการเชื่อมต่อครับ จะได้รายละเอียดดังรูปข้างบนนี้


ทดลองเข้าเว็บ com-th.net ดู

ความเร็วที่ได้จากการต่ออินเตอร์เน็ตแบบ GPRS

ทีนี้ หลายคนคงสงสัยว่า การต่อเน็ตผ่าน GPRS นี้ จะได้ความเร็วเท่าไรกันแน่ เอาเป็นว่า ผมไม่มีข้อมูลแบบละเอียดของระบบ GPRS นะครับ ว่าความเร็วแบ่งออกเป็นเท่าไรบ้าง แต่ขอบอกว่า ความเร็วของการเชื่อมต่อแบบนี้ จะได้ประมาณ เทียบเท่ากับโมเด็ม 56k โดยประมาณ โดยความเร็ว อาจจะช้าหรือเร็วกว่านี้ ขึ้นอยู่กับ จำนวนคนที่ใช้งานข้อมูล พร้อม ๆ กันในขณะนั้น และขึ้นอยู่กับ รุ่นของโทรศัพท์มือถือ ว่ารองรับ GPRS ใน Class ไหนได้บ้าง ถ้าเป็นมือถือรุ่นใหม่ ๆ ความเร็วสูงสุด จะมากกว่ารุ่นเก่า ๆ
มาทำการทดสอบความเร็วของอินเตอร์เน็ตแบบนี้กัน เริ่มต้น ทดสอบจาก server ในเมืองไทยและของเมืองนอก


ผลการทดสอบจาก http://www.thaicybersoft.com/service/bandwidthmeter/


ผลการทดสอบจาก http://us.mcafee.com/root/speedometer.asp?cid=9438
ได้ผลยังไง ก็ลองดูกันเองครับ ถือว่าเทียบเท่ากับโมเด็มธรรมดาได้เลย

การทดสอบใช้งาน software อื่น ๆ

ตอนแรก ผมเองก็สงสัยว่า แล้วการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบนี้ จะสามารถใช้งานอีเมล์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ได้หรือไม่ ก็ทดลองกันดู เริ่มจาก การใช้งานโปรแกรม FTP ผ่านเน็ตก่อน


พบว่าสามารถใช้ FTP ได้ตามปกติ จากนั้น ทดสอบการรับและส่งเมล์ด้วย Outlook Express ดูบ้าง


การใช้งาน Outlook Express เพื่อรับส่งอีเมล์ก็พบว่า สามารถใช้งานได้ตามปกติ รับและส่งอีเมล์ได้เลย

สรุปนะ การเชื่อมต่อแบบนี้ นับได้ว่าเหมาะกับบ้านหรือผู้ที่อยู่หอพักที่ไม่มีโทรศัพท์ หรือผู้ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ โดยที่ บทความทั้งหมดนี้ ผมเขียนขึ้นมาจาก อุปกรณ์ที่ผมมีทดลองใช้งานเท่านั้น บอกตรง ๆ เลยว่า ถ้าเป็นอุปกรณ์ยี่ห้ออื่น หรือเป็นมือถือรุ่นอื่น ๆ ผมเองก็ไม่เคยจับต้อง ดังนั้น ถ้าท่านใดพบปัญหาหรือมีขั้นตอนการติดตั้ง ที่นอกเหนือไปจากนี้ ก็คงต้องลองเปิดดูคู่มือวิธีการติดตั้งและการเซ็ตค่าต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วย
ข้อสำคัญ : การคิดค่าบริการของ GPRS โดยปกติจะแพงมาก ๆ ดังนั้น หากใครคิดจะเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ ต้องตรวจสอบ การคิดค่าบริการก่อนด้วย ควรจะเป็นการใช้โปรโมชั่นแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน ไม่เช่นนั้น เจอบิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์ อาจจะเป็นหลักหมื่นบาทได้ง่าย ๆ นะครับ